market of hotel 4Ps

กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)

มีหลายแนวทางที่สามารถเลือกมาใช้ได้ตามความเหมาะสมแก่ธุรกิจ อาทิ 
  • กลยุทธ์ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) การมีต้นทุนต่ำในการผลิตจะช่วยให้มีศักยภาพในการแข่งขันสูง
  • กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiation) ความแตกต่างของสินค้าและบริการจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ
  • กลยุทธ์ความหลากหลาย (Diversity) ความหลากหลายของสินค้าและบริการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดโดยรวม เป็นต้น
สำหรับธุรกิจโรงแรมแล้ว การใช้กลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ ในกรณีที่เป็นโรงแรมอิสระ ควรที่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ (Unique) ของตนเองให้โดดเด่น จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี สามารถขายได้ในราคาสูงในช่วงเริ่มต้น เพราะโรงแรมเดิมที่มีอยู่ในตลาดไม่มี

แต่ถ้าเป็นโรงแรมแบรนด์ หรือโรงแรมเชนแล้ว ท่านก็จะต้องมุ่งเน้นไปที่ Brand Standard เพราะเป็นเหมือนข้อบังคับที่โรงแรมที่ใช้แบรนด์ต้องปฎิบัติตาม

การมีสินค้าและบริการเสริมเพิ่มเติมจาก Core Product ที่หลากหลาย ก็จะเป็นการสร้าง Added Value ให้แก่ตัวโรงแรมเองได้เป็นอย่างดี การมุ่งเน้นแต่เพียงห้องพัก อาหารและเครื่องดื่มแต่เพียงเท่านั้น เป็น Product พื้นฐานที่โรงแรมต่างๆ ทั้งหลายมีเหมือนๆ กัน มีการแข่งขันกันสูงมาก และจะมุ่งเน้นการแข่งขันการขายกันในตลาด โดยลืมคิดไปว่าผลิตภัณฑ์ ที่เป็นสินค้าและบริการเสริมอีกจำนวนมาเป็นส่งที่ลูกค้าจำนวนมากมองหา แต่ไม่ค่อยมีโรงแรมใดจะนำเสนอ

กลยุทธ์ด้านราคา (Pricing Stragtegy)

ธุรกิจสามารถที่จะพิจารณาใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาในธุรกิจของตนเองใน 4 แนวทางคือ
1 )กลยุทธ์ราคาประหยัด (Economy) ตั้งราคาต่ำสำหรับสินค้าคุณภาพต่ำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด
2 )กลยุทธ์ราคาเจาะตลาด (Penatretion) ตั้งราคาต่ำสำหรับสินค้าคุณภาพสูง เพื่อเจาะตลาดให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3 ) กลยุทธ์ราคาหัวกะทิ (Skimming) คุณภาพสินค้าและบริการไม่สูงนักแต่ตั้งราคาสูงไว้ในช่วงเริ่มต้นเพื่อนำมา ใช้การส่งเสริมการขายใน ลักษณะของการลดราคาในภายหลัง
4 )กลยุทธ์ราคาแบบสินค้าคุณภาพ (Premium) เป็นการตั้งราคาไว้สูงของสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงสำหรับกลุ่มลูกค้า เป้าหมายในตลาดดระดับสูง ในส่วนของหลักการตั้งราคานั้นเราสามารถใช้หลักการตั้งราคาแบบสะท้อนต้นทุน (Cost Base Pricing) และหลักการตั้งราคาแบบสะท้อนคุณคุณค่า (Value Base Pricing) มาใช้ในการพิจารณา 
ในธุรกิจโรงแรม การใช้กลยุทธ์ด้านราคาต้องคำถึงถึง Product Life Cycle ด้วย เพราะคุณค่าของสินค้าและบริการจะเปลี่ยนแปลงไปตามวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อนำออกมาเสนอสู่ตลาดใหม่ๆ มักจะได้รับความสนใจ และสามารถขายได้ในราคาที่สูง เมื่อเนิ่นนานไป มีสินค้าและบริการของรายอื่นๆ เข้ามาแข่ง สภาพของห้องพักเสื่อมสภาพไปราคาขายก็จะต้องลงลงไปตามสภาพแวดล้อม และการแข่งขันในตลาด แต่ถ้ามีการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถขายในราคาที่สูงขึ้นได้

กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย (Place Strategy)

มีหลากหลายลักษณะให้เลือกใช้ในธุรกิจได้ตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีอยู่ อาทิ
1 ) การจำหน่ายตรง (Direct) โดยไม่ผ่านคนกลาง อาจจะทำได้โดยการเปิดหน้าร้านจำหน่าย (Outlet) เปิดเว็บไซต์จำหน่าย การใช้พนักงานขาย ฯลฯ โดยไม่ผ่านตัวแทน หรือพ่อค้าคนกลาง
2 ) การจำหน่ายผ่านคนกลาง (Intermediary) โดยอาจจะมีคนกลางเพียงระดับเดียว ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นผู้ค้าปลีก (Retailer) หรือหลายระดับโดยผ่านทางผู้ค้าส่ง (Wholesaler) เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดและจำหน่ายไปยังลูกค้าเป้าหมาย หรืออาจจะเลือกใช้ทั้ง 2 รูปแบบในลักษณะของหลากหลายช่องทาง (Multi-Channel) ก็ได้ 
ธุรกิจโรงแรมโดยทั่วไปที่เปิดขึ้นมาให้บริการใหม่ๆ ล้วนต้องการให้โรงแรมของตนเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็วเพิ่อเร่งเก็บเกี่ยวผล ประโยชน์ ก่อนที่จะเสื่อมค่าไป ดังนั้นโรงแรมทั้งหลายมักจะเลือกใช้ทุกช่องทางการจัดจำหน่ายในระยะเริ่มต้น หลังจากนั้นแล้วจึงจะค่อยๆ ปรับช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับธรรมชาติในการดำเนินธุรกิจของตนเอง และลดค่าใช้จ่ายด้านช่องทางการตลาด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ต้องพยายามเพิ่มสัดส่วนช่องทางการตลาดตรงให้เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เปิด ดำเนินการ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางการตลาดต่างๆ ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา หรือ Product Life Cycle เพื่อทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด

กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion Strategy)


การใช้กลยุทธ์การส่งเสริมนี้นั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่าต้องการส่งเสริมในด้านใด ระดับใด แล้วจึงกำหนดกลยุทธ์ต่างๆมาใช้งานให้เหมาะสม โดยการส่งเสริมนี้อาจจะแบ่งระดับออกเป็น การส่งเสริมในหมู่ลูกค้า การส่งเสริมช่องทางจัดจำหน่าย และการส่งเสริมภายในองค์กรเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านยอดขาย รายได้ ภาพลักษณ์ และด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากไปจากนี้ โดยต้องนำเอาหลักการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication – IMC) มาใช้ มากกว่าการส่งเสริมเพียงด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ในธุรกิจโรงแรม ควรที่จะให้กลยุทธ์การส่งเสริมในทุกๆ ระดับของช่องทางการจัดจำหน่าย และกระจายผลประโยชน์จากการส่งเสริมไปสู่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งการส่งเสริมแก่ลูกค้าโดยตรง การส่งเสริมแก่ช่องทางจัดจำหน่าย และการส่งเสริมผ่านผู้อ้างอิงต่างๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการขาย การเพิ่มยอดขาย การสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ
First